เป็นหัวเรื่องกว้างๆ ของความรู้ที่จำเป็นและสอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์ตามแผนบริหารราชการแผ่นดินซึ่งต้องการจะนำมาใช้กำหนดเป้าหมาย KM ซึ่งแต่ละองค์กรสามารถใช้แนวทาง ในการกำหนดขอบเขตแลพเป้าหมาย
KM จัดทำแผนการจัดการความรู้ขององค์กรได้ 4 ประเภท คือ
แนวที่ 1 เป็นความรู้ที่จำเป็นและสนับสนุน วิสัยทัศน์ พันธกิจ ประเด็นศาสตร์ขององค์กร
แนวที่ 2 เป็นความรู้ที่สำคัญ เช่น ความรู้เกี่ยวกับลูกค้า ประสบการณ์ความรู้ที่สมมา
แนวที่ 3 เป็นปัญหาที่องค์กรประสบอยู่ และสามารถทำ KM มาช่วยได้
แนวที่ 4 เป็นแนวทางผสมกันระหว่าง แนวที่1,2 และ 3 หรือจะเป็นแนวทางที่หน่วยงาน เห็นว่าเหมาะ
2. KM ทีมควรมีใครบ้าง ทำหน้าที่
สมาชิกของทีม KM คนหนึ่งอาจแสดงบทบาทได้หลายบทบาทดังนี้
- ผู้จัดการโครงการ ทำหน้าที่ด้านธุรการ ได้แก่ ดูแลการดำเนินการตามแผน
- ผู้จัดการความรู้ ดูแลเอกสาร บันทึกความรู้ของทีม
- ผู้ที่สื่อสาร ทำหน้าที่จัดการและดำเนินการ ส่วนของยุทธศาสตร์และแผนการ สื่อสาร
- ผู้ปฏิบัติงาน KM ทำหน้าที่เป็นผู้ออกไปสนับสนุนกิจกรรม Km ของหน่วย งานต่าง ๆ
3 กระบวนการจัดการความรู้ 7 ขั้นตอน มีอะไร แต่ละขั้นตอนคืออะไร
กระบวนการที่ช่วยให้เกิดการพัฒนาการของความรู้ หรือการจัดการกับความรู้ที่จะเกิดขึ้นภายในองค์กรซึ่งมีดังนี้
1. การบ่งชี้ความรู้ เป็นการพิจารณาว่าจะทำอย่างไรให้องค์กรบรรลุเป้าหมายโดยจะคัดเลือกว่าจะใช้เครื่องมืออะไร และขณะนี้เรามีความรู้อะไรบ้าง อยู่ในรูปแบบใด อยู่ที่ใครโดยอาจจะพิจารณาว่าองค์กรมีวิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์ เป้าหมายคืออะไร
2. การสร้างและแสวงหาความรู้ ซึ่งสามารถทำได้หลายทาง เช่น การสร้างความรู้ใหม่แสวงหาความรู้จากภายนอก รักษาความรู้เก่า กำจัดความรู้ที่ใช้ไม่ได้แล้ว
3.การจัดความรู้ให้เป็นระบบ เป็นการวางโครงสร้างความรู้ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเก็บความรู้อย่างเป็นระบบเพื่อการเรียกใช้งานได้อย่างรวดเร็วและถูกต้องในอนาคต
4.การประมวลและกลั่นกรองความรู้ เช่น การปรับปรุงรูปแบบเอกสารให้เป็นมาตรฐานภาษาเดียวกัน และปรับปรุงเนื้อหาให้สมบูรณ์และเหมาะสม
5. การเข้าถึงความรู้ เป็นการทำให้ผู้ใช้ความรู้เข้าถึงความรู้ที่ต้องการได้ง่ายและ สะดวกโดยการใช้พวกระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ(IT) หรือการประชาสัมพันธ์บน Web board
6. การจัดการความรู้ในองค์กรการแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ ทำได้หลายวิธีการซึ่งจะแบ่งได้สองกรณีได้แก่ Explicit Knowledge อาจจะจัดทำเป็นเอกสาร ฐานความรู้และเทคโนโลยีสารสนเทศต่างๆ หรือ Tacit Knowledge จัดทำเป็นระบบ ทีมข้ามสายงานกิจกรรมกลุ่มคุณภาพและนวัตกรรม ชุมชนแห่งการเรียนรู้ ระบบพี่เลี้ยง การสับเปลี่ยนงาน การยืมตัว และเวทีการแลกเปลี่ยนความรู้ เป็นต้น
7. การเรียนรู้ ควรทำให้การเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งของงาน เช่น การเรียนรู้จากสร้างองค์ความรู้การนำความรู้ไปใช้ให้เกิดการเรียนรู้และประสบการณ์ใหม่ๆ และนำความรู้ที่ได้ไปหมุนเวียนต่อไปอย่างต่อเนื่อง4. กระบวนการบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลง CMP คืออะไร
เป็นกรอบความคิดแบบหนึ่งเพื่อให้องค์กรที่ต้องการจัดการความรู้ภายในองค์กร ได้มุ่งเน้นถึงปัจจัยแวดล้อมภายในองค์กร ที่จะมีผลกระทบต่อการจัดการความรู้ ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ดังนี้
1) การเตรียมการและปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น กิจกรรมการมีส่วนร่วมและสนับสนุนจากผู้บริหาร (ที่ทุกคนมองเห็น) โครงสร้างพื้นฐานขององค์กร ทีม/ หน่วยงานที่รับผิดชอบ มีระบบการติดตามและประเมินผล กำหนดปัจจัยแห่งความสำเร็จชัดเจน
2) การสื่อสาร เช่น กิจกรรมที่ทำให้ทุกคนเข้าใจถึงสิ่งที่องค์กรจะทำ ประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับทุกคน แต่ละคนจะมีส่วนร่วมได้อย่างไร
3) กระบวนการและเครื่องมือ ช่วยให้การค้นหา เข้าถึง ถ่ายทอด และแลกเปลี่ยนความรู้สะดวกรวดเร็วขึ้น โดยการเลือกใช้กระบวนการและเครื่องมือ ขึ้นกับชนิดของความรู้ลักษณะขององค์กร (ขนาด สถานที่ตั้ง ฯลฯ) ลักษณะการทำงาน วัฒนธรรมองค์กร ทรัพยากร
4) การเรียนรู้ เพื่อสร้างความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญและหลักการของการจัดการความรู้โดยการเรียนรู้ต้องพิจารณาถึง เนื้อหา กลุ่มเป้าหมาย วิธีการ การประเมินผลและปรับปรุง
5) การวัดผล เพื่อให้ทราบว่าการดำเนินการได้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้หรือไม่ มีการนำผลของการวัดมาใช้ในการปรับปรุงแผนและการดำเนินการให้ดีขึ้นมีการนำผลการวัดมาใช้ในการสื่อสารกับบุคลากรในทุกระดับให้เห็นประโยชน์ของการจัดการความรู้ และการวัดผลต้องพิจารณาด้วยว่าจะวัดผลที่ขั้นตอนไหนได้แก่ วัดระบบ (System) วัดที่ผลลัพธ์ (Out put) หรือวัดที่ประโยชน์ที่จะได้รับ (Out come)
6) การยกย่องชมเชยและให้รางวัล เป็นการสร้างแรงจูงใจให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการมีส่วนร่วมของบุคลากรในทุกระดับ โดยข้อควรพิจารณาได้แก่
ค้นหาความต้องการของบุคลากร แรงจูงใจระยะสั้นและระยะยาว บูรณาการกับระบบที่มีอยู่ ปรับเปลี่ยนให้เข้ากับกิจกรรมที่ทำในแต่ละช่วงเวลา
5. COP คืออะไร สร้างได้อย่างไร และมีประโยชน์อย่างไร
COPs ย่อมาจากคำว่า Community Of Practice ก็คือ กลุ่มคนหรือบุคคลที่มีความสนใจในเรื่องเดียวกัน แล้วมารวมตัวกัน จัดเป็นกุล่มเพื่อที่จะมาแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน สามารถได้ความรู้ใหม่ๆ จากการที่ได้แลกเปลี่ยนความรู้และเป็นประโยชน์อย่างมากมายต่อองค์กรโดยมีลักษณะดังนี้
• ประสบปัญหาลักษณะเดียวกัน
• มีความสนใจในเรื่องเดียวกัน ต้องการแลกเปลี่ยนประสบการณ์จากกันและกัน
• มีเป้าหมายร่วมกัน มีความมุ่งมั่นร่วมกัน ที่จะพัฒนาวิธีการทำงานได้ดีขึ้น
• วิธีปฏิบัติคล้ายกัน ใช้เครื่องมือ และภาษาเดียวกัน
• มีความเชื่อ และยึดถือคุณค่าเดียวกัน
• มีบทบาทในการสร้าง และใช้ความรู้
• มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากกันและกัน อาจจะพบกันด้วยตัวจริง หรือผ่านเทคโนโลยี
• มีช่องทางเพื่อการไหลเวียนของความรู้ ทำให้ความรู้เข้าไปถึงผู้ที่ต้องการใช้ได้ง่าย
• มีความร่วมมือช่วยเหลือ เพื่อพัฒนาและเรียนรู้จากสมาชิกด้วยกันเอง
สร้างได้โดย
- การจัดประชุม
- การจัดสัมมนา
- การจัดการแลกเปลี่ยนความรู้
ประโยชน์ของ COP
1. ในการรวมตัวกันทำให้เกิดความรู้ใหม่ๆ ซึ่งสามารถผสมผสานกันอย่ลงตัว
2. เกิดความสามามัคคีกันภายในกลุ่ม
3. องค์กรสามารถนำความรู้ที่ได้ไปพัฒนาและต่อยอดจนสำเร็จผล
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น